โดเมน Domain คืออะไร?
สำหรับคนที่อยาก เริ่มต้นสร้างเว็บไซต์เวลาเข้าไปค้นหาข้อมูลต่าง ๆ มักจะเห็นคำว่า “โดเมน” กันบ่อย ๆ
ซึ่งคำนี้ถือเป็นเรื่องที่ควรต้องทำความเข้าใจอย่างมาก เพื่อให้เว็บของคุณออกมาดีที่สุด
ซึ่งรายละเอียดไม่ได้ยุ่งยากอย่างที่คิด ยิ่งมีความรู้มากเท่าไหร่ก็ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ
ในการสร้างเว็บไซต์ของคุณให้ออกมาดีอีกหลายเท่าตัว
หากลองเทียบให้เห็นภาพง่าย ๆ “โดเมน” ก็คล้ายกับการบันทึกชื่อบุคคลเอาไว้ในมือถือแทนการจดจำเบอร์โทร
ซึ่งปกติแล้วเว็บไซต์จะมี IP Address เป็นตัวเลข เช่น 177.15.245.66 หากให้จำแบบนี้คงไม่มีใครทำได้แน่ ๆ
ดังนั้นเมื่อมีการจดทะเบียนโดเมน จากตัวเลขที่ระบุมาก็จะเปลี่ยนเป็นชื่อเว็บไซต์ของคุณ เกิดการจดจำที่ง่ายกว่านั่นเอง
สำหรับการ จดทะเบียนโดเมนสามารถจดได้ไม่จำกัดครั้ง เช่น คุณต้องการจดทั้งหมด 3 ชื่อ
แต่เมื่อมีคนค้นหาแล้วก็เข้ามายังหน้าเว็บเดียวกันก็ทำได้ นั่นเพื่อเป็นช่องทางที่ทำให้
ผู้ค้นหาสามารถเจอกับหน้าเว็บได้ง่ายกว่าเดิม เช่น ธุรกิจเกี่ยวกับเฟอร์นิเจอร์ อาจจดได้ทั้ง
furniture.com และ furnitures.com เป็นการป้องกันกรณีพิมพ์ผิดก็ยังคงเจอหน้าเว็บของคุณเหมือนเดิม
โดเมนมีส่วนประกอบอะไรบ้าง
ส่วนประกอบของโดเมนจะแยกออกเป็น 2 จุดหลัก ๆ ได้แก่
1. ชื่อ Unique Domain ก็คือชื่อที่ต้องการคนจดจำว่าเว็บนี้มีชื่ออะไร
2. นามสกุล Extension อธิบายง่าย ๆ มันก็คือส่วนที่ตามหลัง . เช่น .com, .in.th. .net, co.th เป็นต้น
ทั้งนี้นามสกุลดังกล่าวก็ยังแยกประเภทออกได้อีก 2 ระดับ คือ นามสกุลล้วน ๆ เช่น .com, .co, .net
และ นามสกุลต่อด้วยรหัสประเทศ เช่น .co.th, .in.th เป็นต้น
แยกประเภทโดเมนตามกลุ่มธุรกิจ
หากลองสังเกตดี ๆ จะเห็นว่าบรรดาธุรกิจหลายประเภทจะมีนามสกุลโดเมนต่อท้ายชื่อเว็บต่างกันออกไป ซึ่งมักลงท้ายด้วยรหัสประเทศไทยนั่นคือ th ลองมาทำความเข้าใจว่าหากเห็นนามสกุลโดเมนเหล่านี้จะรู้ทันทีว่าเป็นกลุ่มธุรกิจแบบไหน
- .or.th กลุ่มองค์กรพัฒนาเรื่องของเอกสารและกลุ่มธุรกิจไม่หวังผลประโยชน์ เช่น สมาคม, มูลนิธิ
- .ac.th กลุ่มองค์กรด้านการศึกษาที่ผ่านการรับรองจากกระทรวงศึกษาธิการ ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียน, มหาวิทยาลัย, วิทยาลัย ฯลฯ
- .go.th หน่วยงานราชการหรือโครงการต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้การดูแลของรัฐ
- .co.th กลุ่มธุรกิจทั่วไป
- .net.th กลุ่มธุรกิจที่มีใบอนุญาตประกอบการด้านโทรคมนาคม
- .in.th ใช้ได้กับทุกประเภทองค์กรหรือธุรกิจ ทั้งคนไทย และชาวต่างชาติที่มีใบอนุญาตทำงานในประเทศไทย
นี่เป็นความรู้และข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับเรื่องของโดเมน ใครที่กำลังคิดสร้างเว็บไซต์ขึ้นมาหรือต้องการศึกษาเพื่อให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น รับรองว่าจะได้เติมเต็มความรู้กว่าเดิมอีกหลายเท่าตัว และช่วยให้การทำเว็บไซต์เกิดประสิทธิภาพ ตอบโจทย์การใช้งาน ตรงตามวัตถุประสงค์ที่วางเอาไว้มากที่สุดด้วย